เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่สำนักงานใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส กล่าวในการแถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ “การทำสัญญาจ้างเดินรถ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว” ว่า ข้อมูลที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เผยแพร่ต่อสาธารณชนว่าสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงตากสิน-บางหว้า และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงห้าแยกลาดพร้าว-คูคต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังพาดพิงถึงบริษัทฯ ว่าใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต เพราะทราบดีว่า เคทีไม่สามารถจ้างเดินรถได้ด้วยตนเอง แต่ก็ยังสมัครใจทำสัญญากับเคที และมาฟ้องเคทีเป็นคดี ซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ ทำให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย อาจทำให้สาธาณชนเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ และกระทบกับภาพลักษณ์ของบีทีเอสด้วย
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น เพื่อเป็นการปกป้องชื่อเสียงของบริษัทฯ จึงมีความจำเป็นต้องอธิบายให้สาธารณชนรับทราบถึงความถูกต้องในการดำเนินการของบริษัทฯ เกี่ยวกับการรับจ้างเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย โดยขอชี้แจงว่า บริษัทฯ เป็นบริษัทเอกชนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ไม่มีสิทธิหรือไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ในกระบวนการอนุมัติ และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบัญญัติของภาครัฐ และเชื่อมั่นมาโดยตลอดว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) และเคที เป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย มีคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานอัยการเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย จึงเชื่อมั่นว่าจะมีการดำเนินการสัญญาระหว่างรัฐ และเอกชนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเข้าไปเกี่ยวข้องเมื่อให้บริษัทเข้าไปยื่นข้อเสนอ และเจรจาทำสัญญาเท่านั้น
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า บริษัทฯ เชื่อมั่นมาตลอดว่าทุกอย่างทำถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้เริ่มเดินรถตัังแต่ปี 55 ซึ่ง กทม. และเคที ได้นำรายได้มาจ่ายเป็นค่าจ้างให้บีทีเอสตลอด หากรายได้ไม่พอ ทาง กทม. ก็อุดหนุนเงินให้จนกระทั่งปี 62 มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเจรจากับบริษัทฯ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินค่าจ้างเดินรถ แต่ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ และยังไม่มีการทำสัญญาใดๆ ว่า บริษัทจะรับภาระหนี้ แต่ปรากฏว่า กทม.เริ่มไม่ชำระหนี้ส่วนต่อขยายที่ 1 ตั้งแต่เดือน พ.ค.62 จนปัจจุบันเกือบ 4 ปีแล้วที่ กทม. ไม่ชำระหนี้ สำหรับส่วนต่อขยายที่ 2 ไม่ได้ชำระหนี้ตั้งแต่เปิดเดินรถเมื่อปี 60 ซึ่งหนี้ค่าจ้างเดินรถในขณะนี้รวมแล้วก็เพิ่มต่อเนื่องเฉลี่ยเดือนละ 500-600 ล้านบาท
นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าเคทีคิดว่าสัญญาไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำไมที่ผ่านมาถึงมีการจ่ายเงินค่าจ้างได้ และหลังจากนี้บีทีเอสจะทำอย่างไรต่อ จะแจ้งให้เราหยุดเดินรถหรือไม่ ซึ่งวันนี้บีทีเอสยังคงทำตามนโยบายของ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ที่ให้เดินรถต่อไป เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม อยากขอความเห็นใจจาก กทม. และเคที ที่ผ่านมาเราเดินรถครบตามสัญญา จึงอยากให้ชำระหนี้ ซึ่งศาลก็ตัดสินแล้วว่าต้องชำระ อย่ามาอ้างว่าสัญญาไม่ถูกต้อง ไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริง ทำแบบนี้จะให้ชะลอชำระหนี้ไปอีกหรือ ซึ่งมันทำให้บีทีเอสเดือดร้อน ทุกวันนี้บริษัทต้องกู้ยืมเงิน เพื่อให้การเดินรถเป็นไปอย่างต่อเนื่องคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน บีทีเอส ฟ้องร้องให้ กทม. และเคที ชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถที่ค้างไว้ 2 คดี โดยคดีที่ 1 ได้ฟ้องร้องให้ชำระหนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างเดือน พ.ค.62 จนถึงวันที่ 1 ก.ค.64 เป็นเงินประมาณ12,000 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลปกครองได้พิพากษาคดีนี้ ให้ กทม. และเคที ร่วมกันรับผิดชอบชำระเงิน แต่คดียังไม่สิ้นสุดมีการอุทธรณ์ และขณะนี้อยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากศาลปกครองสูงสุด
ส่วนคดีที่ 2 เป็นการฟ้องร้องเพิ่มเติมกรณีเดียวกัน เมื่อวันที่ 22 พ.ย.65 โดยเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.64 ถึงวันที่ 20 พ.ย.65 จำนวนเงินประมาณ 11,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ศาลฯ ให้ กทม.และเคทีทำข้อมูลชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งผลให้ปัจจุบันบีทีเอส ฟ้องร้องให้ กทม. และเคที ชำระหนี้สินค่าจ้างเดินรถรวม 23,000 ล้านบาท ซึ่งยอดหนี้ดังกล่าวยังไม่รวมกับค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่บริษัทฯต้องเรียกเก็บอีกประมาณ 2 หมื่นล้านบาท รวมแล้วมีหนี้ที่บริษัทต้องแบกรับอยู่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท
ด้าน พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ที่ปรึกษาประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นกำลังจะกลายเป็นปัญหาซ้อนปัญหา จะจบตรงไหน ใครจะรับผิดชอบ ซึ่งการที่คู่ความจะต่อสู้คดีเป็นสิทธิโดยชอบทางกฎหมาย แต่การที่เคทีนำประเด็นการต่อสู้ในศาลฯ มาโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย และข้อความนั้นก็ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบีทีเอส ทำให้ประชาชนอาจเข้าใจผิดได้ว่า บีทีเอสเป็นคนเลว และสมคบกับเคที
จุดนี้จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้บีทีเอสนั่งอยู่เฉยๆไม่ได้แล้วต้องออกมาชี้แจงว่าไม่เป็นความจริงและยังมีความหมิ่นเหม่ที่เคทีจะกระทำผิดกฎหมายด้วยวันนี้ต้องตั้งคำถามกลับไปยังเคทีว่าเมื่อประกาศผ่านสื่อยอมรับแล้วว่าสัญญาส่วนต่อขยายที่1และ2ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วหลังจากนี้จะทำอย่างไรต่อไปจะต่อสู้กันในศาลหรือจะแจ้งบีทีเอสให้ยกเลิกเดินรถ
พ.ต.อ.สุชาติ กล่าวต่อว่า เคทีกำลังสร้างปัญหาซ้อนปัญหา และปัญหาก็ไม่ได้ตกอยู่กับเคที แต่คนที่เกิดปัญหาคือ ประชาชนอีกหลายแสนชีวิตถ้าต้องมีการยกเลิกเดินรถ นอกจากนี้ ต่อไปจะมีเอกชนรายไหนกล้ามาทำสัญญากับภาครัฐอีกหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาเคทีไม่เคยพูดว่าสัญญาชอบ หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้บีทีเอสเดินรถมาตลอดแต่มาวันนี้มาบอกว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงอยากเรียกร้องความเป็นธรรม เพราะบีทีเอสทำทุกอย่างด้วยความสุจริตและปฏิบัติตามสัญญามาโดยตลอด คำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต
ทุกวันนี้ทำงานให้แต่ไม่ได้ค่าจ้างก็หนักหนาสาหัสพอแล้วยังมาถูกกล่าวหาว่าเป็นคนเลวและคนไม่ดีอีกคงไม่มีใครทนได้วันนี้บีทีเอสต้องการกำลังใจและอยากให้ประชาชนเข้าใจเพราะสิ่งที่เคทีโพสต์มีความบั่นทอนกำลังใจของบีทีเอสมากเหมือนเราเป็นตัวร้ายทั้งที่เราแบกภาระแทนรัฐให้เราทำงานให้แทนและไม่จ่ายเงินเราอย่างไรก็ตามเมื่อช่วงปลายปี65บริษัทฯได้ทำหนังสือไปยังตุลาการศาลสูงสุดเพื่อให้พิจารณาคดีที่ฟ้องร้องไปเป็นเรื่องเร่งด่วนเนื่องจากหากพิจารณาล่าช้าจะกระทบต่ออะไรหลายๆอย่างโดยเฉพาะการบริการสาธารณะ.