นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.)ครั้งที่ 3/2566กล่าวว่า มีมติเรื่องโรงสี ที่มีส่วนช่วยรับซื้อข้าว จากเกษตรกร ทำให้ข้าวไม่ล้นตลาด โดยช่วยชดเชยดอกเบี้ย 4% จะนำเข้า ครม. ในวันอังคารที่จะถึงนี้ (28 พ.ย.66) โดยให้ คชก. จ่ายเงินชดเชยไปก่อน งบประมาณ 780 ล้านบาท
รู้วันโอนเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท พร้อมวิธีเช็กเข้าบัญชี
นายกฯ นัดแถลงแก้ปัญหา “หนี้นอกระบบ” 28 พ.ย. นี้
และเรื่องที่ชาวนาได้ไร่ละ 1,000 บาท จำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน เป็นค่าบริหารจัดการข้าวที่ได้มีไปมติแล้ว ในการเข้า ครม.ครั้งหน้าเช้าวันอังคารที่จะถึงนี้ (28 พ.ย.66) จะมีการคิกออฟให้ชาวนาทั่วประเทศได้รับเงินไร่ละ 1,000 บาท
ธ.ก.ส. พร้อมรับลูกจ่ายเงินค่าบริหารจัดการข้าวให้ชาวนา เริ่ม 28 พ.ย. นี้
ด้าน นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่าเตรียมจ่ายเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามมติครม. วงเงิน 54,336 ล้านบาท ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่
เป้าหมายเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 4.68 ล้านครัวเรือน เริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงตั้งแต่ 28 พ.ย. 66 เป็นต้นไป พร้อมจัดมาตรการคู่ขนานในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกและเสริมสภาพคล่องชาวนา ผ่านสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 และสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน BAAC Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่านบริการ BAAC Connect ทาง Line: BAAC Family
ส่วนในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว รัฐบาลได้มอบนโยบายในการจัดทำมาตรการคู่ขนาน เพื่อดูแลและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกแบบครบวงจร อีก 2 มาตรการ ได้แก่
1. สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 วงเงินรวม 34,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนระหว่างชะลอการขายข้าว โดยไม่ต้องเร่งขายข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากและราคาตกต่ำ
โดยรัฐบาลรับภาระในการชำระดอกเบี้ยแทนเกษตรกร และ ธ.ก.ส. ยังพร้อมสนับสนุนค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกให้เกษตรกรอีก 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรเก็บข้าวเอง ได้รับ 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรฝากข้าวกับสถาบันเกษตรกร เกษตรกรจะได้รับ 500 บาทต่อตัน และสถาบันฯ จะได้รับ 1,000 บาทต่อตัน สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ลูกค้ารายย่อย สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีได้ (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)
2. สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท โดยสหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและศูนย์ข้าวชุมชนที่ประกอบธุรกิจรวบรวมข้าวจากเกษตรกรสมาชิก และเกษตรกรทั่วไป
โดยสถาบันฯ ชำระดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี ส่วนที่เหลือรัฐบาลรับภาระชำระแทน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศหรือ Call Center 02 555 0555
เตรียมพร้อม! เปิดรับแรงงานภาคเกษตร สนใจทำงานเกาหลีไม่ต้องสอบวัดระดับภาษา
หลุดเองตั๋วเพื่อไทย เศรษฐา เปิดประเด็น สส.ฝาก ตำแหน่งผู้กำกับใหม่
ปิดฉาก 59 ปี “โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ” ขาดทุนทุกปีสูงสุดหลักพันล้าน คำพูดจาก สล็อต888